ตำนาน 11วีรชน แห่งบางระจัน



๑๑ วีรชนชาวบ้านบางระจัน



   การรบที่บางระจันเป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและเมืองต่าง ๆ ที่พานมาหลบภัยกองทัพพม่าที่บางระจันในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองสามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง จนได้ชื่อว่า“เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น”และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทยโดยมีอนุสาวรีย์สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งนี้ในจังหวัดสิงห์บุรี




๑. พันเรือง (นายอนิก สมบรูณ์ ผู้ปั้น)
         เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน เมื่อถูกพม่าเข้าปล้นหมู่บ้านหาข้าวปลาอาหารทัพ ชาวบ้านถูกทหารพม่ารังแก ข่มแหง จึงได้รับความเดือดร้อน นายพันเรือง นายทองแสงใหญ่ นายจันหนวดเขี้ยว ปรึกษากันให้ชาวบ้านบางระจันทั้งหมด ไปอยู่ในวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นที่หลบทหารพม่าเพราะมีคลองธรรมชาติล้อมรอบถึง ๒ ชั้น และรวมชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านจำนวนหนึ่ง ซึ่งแบ่งกลุ่มกันออกลาดตะเวน หลอกล่อทหารพม่าให้หลงทางเข้าตีไม่ถูก และนายพันเรืองยังเป็นผู้ออกความคิดหล่อปืนใหญ่ เพื่อยิงทำลายค่ายพม่า จึงชักชวนชาวบ้านช่วยกันเสียสละทองเหลือง ทองแดง หล่อปืนขั้น ๒ กระบอก แต่ใช้การไม่ได้ อาจเป็นเพราะโลหะไม่เป็นชนิดเดียวกันหรือไม่มีความชำนาญ ชาวบ้านต้องอยู่ในสภาพเสียขวัญกำลังใจ และท่านได้หลบหนีทหารพม่าในคราวค่ายแตกไปเสียชีวิตริมฝังคลอง หน้าวัดขุนสงฆ์ห่างจากค่ายประมาณ ๒.๕ ก.ม.

๒. นายแท่น (นายสุกิจ ลายเดช)
         เป็นคนบ้านศรีบัวทองแขวงเมืองสิงห์บุรี เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญและมีฝีมือในการวางแผนรบ จัดได้ว่าเป็นแม่ทัพใหญ่อีกท่านหนึ่ง นายแท่นคุมพลเข้ารบกับทหารพม่าหลายครั้งได้รับชัยชนะ ในการรบครั้งที่ ๔ ท่านคุมพล ๒๐๐ คน เป็นทัพหลวงท่านคุมพลเข้าตีลวงหม่าก่อน และให้ทัพปีกขวาและปีกซ้ายเข้าตีโอบหลังสนามรบคือฝั่งคลองทุ่งห้วยไผ่สะตือสี่ต้นในการรบครั้งนั้นท่านได้รับชัยชนะ และสามารถฆ่าแม่ทัพพม่าได้คือ สุรินทร์จอข่อง แต่ท่านก็ได้รับความบาดเจ็บที่เข่า เนื่องจากถูกอาวุธของข้าศึกต้องหามกลับค่ายหลังจากนั้นท่านต้องนอนรักษาตัวอยู่ในค่ายได้มินานก็เสียชีวิตเพราะพิษบาดแผล ทำให้ทุกคนในบางระจันเสียขวัญกำลังใจเพราะขาดบุคคลซึ่งเป็นที่พึ่ง ๑ ใน ๑๑ ท่าน ทุกคนในค่ายต้องหลั่งน้ำตาในการจากไปของท่าน

๓. นายโชติ (นายแหลมเทียน คชะภูค ผู้ปั้น)
         เป็นคนบ้านศรีบัวทอง แขวงเขตเมืองสิงห์บุรีติดต่อเมืองสุพรรณบุรี นายโชติได้รวมชาวบ้านที่ถูกกองลาดตะเวนของทหารพม่าข่มเหงและให้ส่งหญิงสาวให้ในครั้งนั้นท่านกับพรรคพวกได้ลวงทหารพม่าไปฆ่าได้กว่า ๒๐ คน จากนั้นท่านและชาวบ้านจึงมาอยู่รวมกัน ณ บางระจัน ท่านได้ต่อสู้กับทหารพม่า จนเสียชีวิตในสนามรบ

๔. นายอิน (นายสุกิจ ลายเดช ผู้ปั้น/นายสุนทร ศรีสุนทร ผู้ช่วย)
         เป็นคนบ้านสีบัวทอง ที่มากับนายแท่น นายโชติ นายเมือง เป็นคนหนึ่งที่ร่วมกันฆ่าทหารพม่าในครั้งแรก แล้วมารวมรวมกำลังตั้งค่ายบางระจันขึ้น ณ วัดโพธิ์เก้าต้น ท่านเป็น ๑ ใน ๑๑ ผู้นำชาวบ้านที่ออกต่อสู้กับทหารพม่า ด้วยความกล้าหาญจนตัวตายในสนามรบ

๕. นายดอกแก้ว (นายสนั่น ศิลากรณ์ ผู้ปั้น)
         อยู่เมืองวิเศษชัยชาญ เมืองถูกกองทัพพม่าตีเมืองวิเศษชัยชาญแตกและยึดเมืองได้ นายทองแก้วจึงรวบรวมชาวบ้านหลบหนีไปอยู่ที่บ้านโพธิ์ทะเล ท่านหนีออกมาคราวเดียวกับยานดอก ต้องแยกทัพกันอยู่เพราะมีชาวบ้านจำนวนมาก

๖. นายทองแสงใหญ่ (นายประเทือง ธรรมรักษ์ ผู้ปั้น)
         ท่านเป็น ๑ ใน ๑๑ ท่านที่เป็นผู้นำระดับแนวหน้า และท่านเป็นผู้ที่คิดตั้งค่ายน้อยเพื่อลวงทหารพม่า ท่านคัดชายฉกรรจ์ จำนวนหนึ่ง ตั้งค่ายขึ้นอีกค่ายหนึ่ง ซึ่งห่างจากค่ายใหญ่ออกไป ในค่ายใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยคนแก่ทั้งชายหญิงเด็กเล็กและผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากการสู้รบและมีการเสียชีวิตทุกวันท่านต่อสู้กับทหารพม่าด้วยกำลังที่มีอยู่ทั้งหมด

๗. นายเมือง (นายขวัญเมือง ยงประยูร ผู้ปั้น)
         เป็นคนบ้านศรีบัวทอง เมืองสิงห์บุรี ร่วมกับนายอิน นายโชติ นายแท่น และชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่ง ลวงทหารพม่าไปฆ่า และท่านเป็นคนไปนิมนต์ พระอาจารย์ธรรมโชติ จากแคว้นเมืองสุพรรณ มาอยู่วัดโพธิ์เก้าต้น ค่ายบางระจัน นายเมืองเป็น ๑ ใน ๑๑ ผู้นำชาวบ้านในค่าย ที่คุมคนออกต่อสู้กับพม่า จนกระทั้งเสียชีวิตในสนามรบ

๘. ขุนสรรค์ (นายบุญส่ง นุชน้อมบุญ ผู้ปั้น)
         จากเมืองสรรค์บุรี ท่านได้รวบรวมชาวบ้านต่อสู้กับทหารพม่าที่ยกทัพพม่ามาทางเมืองอุทัยธานีท่านมีฝีมือในการยิงปืน เมื่อท่านกับชาวบ้านต่อต้านทหารพม่าไม่ไหวจึงชักชวนชาวบ้านมารวมกันที่บางระจัน และได้รวมรบกับชาวบ้านศรีบัวทอง ชาวเมืองวิเศษชัยชาญ ชาวบ้านที่รวมตัวกันอยู่ ร วัดโพธิ์เก้าต้นค่ายบางระจัน ท่านได้ให้ชาวบ้านรวบรวมอาวุธต่าง ๆ ที่ยึดได้จากทหารพม่าในการรบครั้งก่อน ๆ ที่ได้รับชัยชนะครั้งหนึ่งท่านได้รวมกับนายจันหนวดเขี้ยว ท่านได้คุมพล ๑๐๐ คน ตีทัพของ อาคา บัญคญี แตกพ่าย ท่านได้รวมรบอยู่ในค่าย จนกระทั้งเสียชีวิตในที่รบ

๙. นายดอก (นายพนม สุวรรณนารถ ผู้ปั้น)
         ท่านอยู่เมืองวิเศษชัยชาญ เมื่อกองทัพพม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา แม่ทัพพม่าสั่งให้กองทัพออกตีหัวเมืองต่างๆ เมืองวิเศษชัยชาญจึงอยู่ในเป้าหมาย เมืองกองทัพพม่าเข้าตีเมืองวิเศษชัยชาญแตก นายดอกจึงชักชวนชาวบ้านไปอยู่บ้านตลับ คือบ้านตลับ ในปัจจุบัน กองทัพพม่าเที่ยวออกลาดตะเวนเป็นบริเวณกว้าง ทำให้ชาวบ้านเดือนร้อน เพราะถูกทหารพม่าข่มเหงจึงชักชวนมาอยู่ วัดโพธิ์เก้าต้น ค่ายบางระจัน นายดอกเป็นผู้นำชาวบ้าน ท่านได้ร่วมรบกับชาวบ้านบางระจัน กองทัพพม่าบุกเข้าได้แล้ว ทำให้ท่านเสียชีวิตในสนามรบ

๑๐. นายจันหนวดเขี้ยว (นายสนั่น ศิลากรณ์ ผู้ปั้น)
         ท่านเป็นคนบางระจัน เดิมเป็นคนชื่อจันชอบไว้หนวดและแต่งหนวดให้งอนดูเหมือนเขี้ยวชาวบ้านทั่วไปจึงเรียนท่านว่า นายจันหนวดเขี้ยว ท่านเป็นผู้กล้าหาญมีฝีมือในการต่อสู้ท่านเป็นเหมือนครูฝึกประจำหมู่บ้านให้เด็กหนุ่มสาว ในเมื่อทหารพม่ามาข่มเหงชาวบ้าน ท่านจึงออกช่วยชาวบ้านจึงเกิดการต่อสู้ เด็กหนุ่มที่ท่านฝึกให้รวมพลังกันรบทหารพม่าได้รับชัยชนะ ท่านจึงให้พวกชาวบ้านไปรวมตัวกันอยู่ที่วัดโพธิ์เก้าต้น ครั้งหนึ่งกองทัพพม่ายกกำลังมามาก ท่านให้กองสอดแนมในค่ายออกไปดูกำลังพลพม่าที่ยกมา เมื่อท่านทราบว่ากำลังพลไล่เลี่ยกัน ท่านคุมกำลัง ๑๐๐ คน แบ่งออกเป็น ๒ พวก เข้าตีกองทัพพม่า อาคา ปัญคญี เป็นแม่ทัพพม่าจนเสียชีวิตในที่รบ ครั้งสุดท้ายพม่าเปลี่ยนวิธีการรบ คือพม่าสร้างค่ายเป็นสามค่ายมาเรื่อย ๆ และยิงปืนใหญ่ออกมา ไม่ต้องออกมาลบแทน จึงสร้างความกดดันให้ชาวบ้านบางระจันเป็นอย่างมาก นายจันหนวดเขี้ยวพร้อมกับชาวบ้านเข้าตีค่ายพม่า ในค่ายพม่ามีสุกี้เป็นแม่ทัพ ท่านถูกทหารพม่าฆ่าตายในสนามรบ

๑๑. นายทองเหม็น (นายสุกิจ ลายเดช ผู้ปั้น)
         ท่านว่าชาวบางระจัน เข้าร่วมในค่ายบางระจันและเป็นอีกท่านหนึ่งที่ร่วมวางแผนในการรบครั้งที่ ๔ ท่านทำหน้าที่เป็นปีกขวา ร่วมกับนายโชติ นายดอก นายทองแก้ว คุมพล 200 คน ไปข้ามคลองบ้านขุนโลก ตีโอบหลังข้าศึก ผลทำให้พม่าแตกพ่าย และได้ฆ่าทัพพม่าคือ สุรินทร์จอข่อง ครั้งสุดท้ายพม่าทำการรบแต่ในค่ายโดยยิงปืนใหญ่ออกมา นายทองเหม็นสุดที่จะทนร่วมกับพวกชาวบ้านบางระจันจำนวนหนึ่ง โดยนายทองเหม็นขี่กระบือเผือกตลุยฝ่าค่ายพม่า จึงเสียทีพม่า นายทองเหม็นถูกพม่าจับฆ่าตายในที่นั้น


เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในครั้งนั้นที่คนไทยทุกคนต้องภาคภูมิใจ ในความกล้าหาญ และความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อปกป้องมาตุภูมิ จากการข่มเหงของชาวชาติอื่น แม้ชาวบ้านบางระจันจะพ่ายแพ้ในที่สุด แต่ชื่อเสียงและเกียรติคุณยังคงอยู่แม้เวลาล่วงเลยมา 200 กว่าปีแล้ว เรื่องราวของวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันยังคงอยู่เปรียบดังผู้เป็นอมตะ แม้ตัวจะตายไปชื่อยังคงอยู่ แม้จะไม่มีชื่อวีรชนทั้งหมดแต่วีรกรรมยังคงอยู่ ปรากฏอยู่ในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์



                         

อ้างอิง

วีดีโอ

ข้อมูล

1 ความคิดเห็น:

ฟ้อนสาวไหม

ฟ้อนสาวไหม   ฟ้อนสาวไหม  เป็นศิลปะการฟ้อนรำประเภทหนึ่งของชาวล้านนาที่มีพัฒนาการทางรูปแบบมาจากการเลียนแบบอากัปกิริยาการสาวไหม ผู้ฟ้อนส...